ประวัติลูกเสือโลก
โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden - Powell) หรือมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ และรู้จักกันดีในวงการลูกเสือในนาม บี.พี. (B.P.) คือผู้ที่ให้กำเนิดกิจการลูกเสือ (SCOUT) ขึ้นมาในโลกใบนี้ การกำเนิดของลูกเสือไม่ได้เกิดขึ้นเพียงข้ามคืน แต่บ่มเพาะอยู่ในตัวของท่าน บี.พี. มาอย่างยาวนาน
|
เมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้เข้าร่วมกับกองทหารม้าของอังกฤษไปประจำอยู่ที่อินเดีย ความสามารถอันโดดเด่นด้านการใช้ชีวิตกลางแจ้งของท่าน แสดงให้เห็นจากการที่ท่านได้รับรางวัลการล่าหมูป่าบนหลังมาด้วยหอกเล่มเดียว (Pig Sticking) ซึ่งเป็นกีฬาที่อันตราย และได้รับความนิยมอย่างมาก
บี.พี. มีพี่น้อง 7 คน อยู่กับมารดา โดยกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ในวัยเด็กของท่านแสดงให้เห็นถึงนิสัยรักผจญภัย และชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง ท่านมักจะเดินทางไกลไปพักแรมร่วมกับพี่น้องของท่านตามที่ต่าง ๆ ในอังกฤษ ชอบท่องเที่ยวในป่ารอบโรงเรียน ซุ่มดูสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังเป็นผู้รักษาประตูมือดี และเป็นนักแสดงละครที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน รวมทั้งรักดนตรี และวาดภาพอีกด้วย
ในปี ค.ศ. 1887 บี.พี. ได้ไปประจำการอยู่ในแอฟริกา ซึ่งต้องรบกับชนเผ่าพื้นเมืองที่ป่าเถื่อนดุร้าย ไม่ว่าจะเป็น ซูลู อาซันติ หรือมาตาบีลี และด้วยความสามารถของท่านในการสอดแนม การสะกดรอย รวมทั้งความกล้าหาญของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่หวาดกลัวของบรรดาชนพื้นเมืองจนถึงกับตั้งฉายาท่านว่า "อิมปีซ่า" (Impeesa) หมายความว่า "หมาป่าผู้ไม่เคยหลับนอน" และด้วยความสามารถของท่าน ทำให้ท่านได้เลื่อนยศอย่างรวดเร็ว
ในปี ค.ศ. 1889 อังกฤษมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐทรานสวาล พันเอก เบเดน-โพเอลล์ ได้รับคำสั่งให้นำทหารม้าสองกองพันเดินทางไปป้องกันเมืองมาฟอีคิง ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะตั้งอยู่ใจกลางของแอฟริกาใต้ ที่นี่เองเป็นสถานที่ที่ทำให้ท่านได้รับชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในการรักษาเมืองไว้จากเงื้อมมือของข้าศึกที่ล้อมอยู่ด้วยกำลังมากกว่าอย่างมหาศาลไว้ได้ถึง 217 วัน จนกระทั่งกองทหารของอังกฤษได้บุกเข้าไปช่วยเหลือเป็นผลสำเร็จ
หลังจากศึกคราวนี้ ท่านได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และได้รับการนับถือจากชาวอังกฤษให้เป็นวีรบุรุษ
ในปี ค.ศ. 1901 บี.พี. เดินทางกลับไปยังอังกฤษ และด้วยชื่อเสียงของท่านในฐานะวีรบุรุษ ทำให้หนังสือที่ท่านเขียนขึ้นเพื่อให้ทหารอ่าน ชื่อ "Aids to Scoutting" หรือ "การสอดแนมเบื้องต้น" ได้รับความนิยมจนกระทั่งนำไปใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนชายมากมาย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น